การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพคืออะไร
วันนี้เรามารู้จักกับ เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ทุกวันนี้เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ให้โลกมาก โดยความหมายคือ เป็นการใช้ระบบ และสิ่งที่มีชีวิตเพื่อการพัฒนา มุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ ไปจนถึงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบชีวภาพของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ให้ดีขึ้น หรือเพิ่มจำนวนผลผลิตด้วย
โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา และหลายแขนงวิชา ตัวอย่างเช่น
- วิศวกรรมเคมี
- ชีวะสารสนเทศ หรือวิทยาการคอมพิวเตอร์
- วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ
- ชีวะหุ่นยนต์
ฯลฯ
ในปัจจุบันสามารถแบ่งรูปแบบของงานวิจัยเชิงชีวภาพได้เป็นสองแบบหลักคือ แบบดั้งเดิม และแบบสมัยใหม่
แบบดั้งเดิม
จะเรียกอีกอย่างว่าภูมิปัญญาชาวบ้านก็ว่าได้เป็นงานคิดค้น และภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาในชุมชน หรือท้องถิ่น หลายเรื่องนั้นอาจดูไม่ทันสมัย หรือเก่าคร่ำครึ แต่ทุกวันนี้เมื่อประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเริ่มย้อนกลับไปสนใจความรู้ของชาวบ้านมากขึ้น จึงทำให้มีการศึกษากระบวนวิธีการของผู้คนในท้องถิ่นมากกว่าเดิม และได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม ซึ่งมีการพัฒนาสืบสานกันมา ตัวอย่างเช่น เกี่ยวกับการถนอมหรือปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็น การหมักอาหาร หมักเหล้า ทำน้ำปลา ซีอิ๊ว ยาดอง และการผสมพันธุ์สัตว์ด้วยวิธีการธรรมชาติ ไปจนถึงการตัดต่อพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ที่เราพบกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็น ตอนกิ่งในรูปแบบต่างๆ สิ่งเหล่านี้ชาวบ้านได้พัฒนาวิธีการมานานตั้งแต่ก่อนจะมีการบัญญัติศัพท์เทคโนโลยีชีวภาพด้วยซ้ำ
แบบสมัยใหม่
เป็นการวิจัยด้วยวิธีแบบสมัยใหม่ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้น และให้ความสำคัญกับการประยุกต์เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาให้เป็นประโยชน์มากกว่าจะใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อาจจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ ส่วนมากแล้ว คืองานค้นคว้าด้านอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต ทำงานวิจัยภายในห้องปฏิบัติการ หรือห้องแลปด้วยชีวสารสนเทศ การสำรวจ สกัด หรือนำผลผลิต และสิ่งมีชีวิตอื่นๆมาใช้ในเพื่อพัฒนา ผลงานงานค้นคว้านั้น มักได้นำออกมาเผยแพร่ในเชิงวิชาการ มีการจดสิทธิบัตร เป็นงานที่มีมูลค่า หรืออาจทำวิจัยเพื่อใช้สำหรับขอทุนได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเขียน และออกแบบแผนงานที่ชัดเจน
ตัวอย่างเช่น การสังเคราะห์ ผสมเทียมสัตว์ เพื่อเพิ่มผลการผลิต ตัดต่อพันธุกรรม งานที่มุ่งลงลึกไปถึงระดับโมเลกุลหรือระดับเซลล์ โคลนนิ่งสัตว์ เป็นต้น
งานในแบบสมัยใหม่ อาจจะได้รับการยอมรับในวงกว้างมากกว่า ขณะเดียวกันก็มักใช้เงินทุนสูง ผลจากงานวิจัยก็ใช่ว่าจะนำไปใช้ได้จริงทันที แต่หลายครั้งเป็นการศึกษาเพื่อต่อยอดความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วนำไปแก้ปัญหาใหม่ๆ หรือเพื่อนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นความแตกต่างของทั้งสองแบบจึงอยู่ที่ แบบดั้งเดิมเป็นการนำมาใช้ในครัวเรือน แต่แบบสมัยใหม่ มุ่งนำไปใช้สำหรับการผลิตจำนวนมาก หรือสำหรับภาคอุตสาหกรรม ผู้ที่จะเข้ามาทำวิจัยในแบบหลังนี้ ก็ต้องเรียน และศึกษามาในสาขานั้นๆโดยตรง ในขณะที่แบบดั้งเดิม ใครๆก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นเพียงชาวไร่หรือชาวสวนก็ตาม