เทคโนโลยีชีวภาพมีประโยชน์ต่อเกษรตรอย่างไร

Agricultural-biologyหนึ่งในงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย นอกจากด้านการรักษาและป้องกันโรคแล้ว อีกหนึ่งก็คือผลงานด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งช่วยส่งเสริมผลผลิตจำนวนมาก ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตภาคการเกษตรแถวหน้าของโลกมาได้ในทุกวันนี้ แม้ว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติเช่นภัยแล้ง อุทกภัย ที่ทำลายผืนดินและที่นาไปจำนวนมากก็ตาม แต่งานวิจัยด้านการเกษตรก็เข้ามาช่วยไม่ให้ทุกอย่างแย่ลงไปกว่าเดิม

แล้วมันทำอะไรได้บ้าง เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร ในความหมายคือ เป็นงานวิจัยเพื่อค้นคว้าและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืช โดยเน้นวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ของสายพันธุ์ การตัดแต่งยีน ตัวอย่างที่พบกันบ่อยเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์ไม้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อให้ออกผล ไม่ว่าจะเป็นกล้วยไม้ มะละกอ ส้ม ฯลฯ การตัดแต่งยีนเพื่อพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืชหรือโรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า เป็นต้น

ที่ผ่านมา การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมผลผลิตและปรับปรุงคัดสรรพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์นั้นเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความสนใจกันมากจากทั่วโลก ในโลกตะวันตก ถือเป็นงานวิจัยค้นคว้าแรกๆ เพราะการทดลองต่างๆเกี่ยวกับพืชและสัตว์นั้นสามารถทำได้ง่ายกว่าในตัวมนุษย์ อีกทั้งหลายประเทศในยุโรปแต่เดิมมักประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตของภาคการเกษตรจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก แต่แรกเริ่มนั้นใช้วิธีการง่ายๆก่อน เช่นการถนอมอาหาร ป้องกันขนมปังขึ้นเชื้อรา การทำอาหารกระป๋อง ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับชาวตะวันตก อีกทั้งทำให้พวกเขาสามารถเก็บรักษาอาหารไว้ใช้ในการเดินทางไกลข้ามทวีปในยุคล่าอาณานิคมได้ด้วย

ในยุคปัจจุบัน งานเพาะเลี้ยงพันธุ์พืชเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศให้ได้ดีนั้น เป็นความต้องการลดการนำเข้าสินค้าประเภทพืชผลจากทวีปเอเชีย เพื่อให้พวกเขาสามารถปลูกพืชในผืนดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ได้ ในอเมริกาเองก็มีงานวิจัยเรื่องข้าวโพดซึ่งถือเป็นอาหารหลักของคนอเมริกันในยุคสมัยตั้งรกราก เป็นองค์ความรู้ที่ได้รับมาจากชาวอินเดียนแดงท้องถิ่น ซึ่งชาวยุโรปที่อพยพเข้าไปไม่รู้จักมาก่อน สิ่งเหล่านี้จึงกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์ได้หาหนทางที่จะเรียนรู้และพัฒนาสายพันธุ์พืชเศรษฐกิจเหล่านี้ให้สามารถนำไปเพาะปลูกในประเทศของพวกตนได้ดีขึ้น เมื่อสามารถทำได้แล้ว การนำเข้าก็ไม่ได้จำเป็นเหมือนเคย ส่งผลไปถึงภาคธุรกิจด้วย ไม่ใช่แค่ภาคการเกษตรเท่านั้น

อีกทั้งในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ลักษณะที่แสดงออกมาของพืชหรือสัตว์พันธุ์เดียวกันนั้นอาจแตกต่างกันได้ด้วย ในการจำแนกสายพันธุ์ด้วยตาเปล่า หรือใช้ลักษณะภายนอกที่ปรากฏ จึงไม่ได้เพียงพอสำหรับการจำแนกหรือระบุสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตให้ถูกต้องแม่นยำได้ การวิจัยเกษตรทางชีวภาพจึงเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้เช่นกัน เพราะเป็นการเจาะลึกถึงระดับ DNA เพื่อระบุสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต เป็นความก้าวหน้าที่ส่งผลไปด้วยกันในระดับองคาพยพสู่อนาคต

Biological-agricultural-plots